สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กับการพัฒนาสยามประเทศ

ให้กำเนิดการศึกษา "นักธรรม"
พระกรณียกิจสำคัญประการแรก คือ การจัดการศึกษาแก่ภิกษุสามเณร เพื่อให้ภิกษุสามเณรได้ศึกษาพระธรรมวินัยอย่างทั่วถึง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีการจัดการมาแต่ก่อน เป็นเหตุให้เกิดมีหลักสูตรการศึกษาพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า นักธรรม ขึ้นเป็นครั้งแรก

วางรากฐานมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
การตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาแนวใหม่ เป็นการวางรากฐานเพื่อการก่อตั้งมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรกในเวลาต่อมา

วางรากฐานประถมศึกษาแห่งชาติ
การจัดการศึกษาหัวเมืองมุ่งขยายการศึกษาของราษฎรให้แพร่หลายไปสู่ราษฎร ให้ราษฎรเข้าถึง “รากเหง้าของการศึกษาของไทย” นั่นคือการศึกษาที่อิงอยู่กับพระพุทธศาสนา ฉะนั้น โครงสร้างของหลักสูตรการศึกษาหัวเมืองที่จัดขึ้นในครั้งนี้จึงประกอบด้วยเนื้อหา ๓ ส่วน คือ วิชาความรู้ วิชาเครื่องเลี้ยงชีพ และวิชาธรรมปฏิบัติ

ปรับปรุงมาตรฐานพระปริยัติธรรม
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯทรงตั้งหลักสูตรนักธรรมขึ้น ด้วยพระดำริที่ว่า การศึกษาพระปริยัติธรรมในภาษาไทยเป็นวิธีที่จะช่วยให้พระภิกษุสามเณรได้เรียนรู้พระธรรมวินัยง่ายขึ้น

พระกรณียะสำคัญประการแรกของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ พระองค์นั้นก็คือ เรื่องการศึกษา เพื่อความกะทัดรัดในการเล่า และ เพื่อความเข้าใจง่ายของท่านผู้ฟังจะขอสรุปประเด็นหรือหัวข้อสำคัญ ในพระกรณียะด้านการศึกษาของพระองค์เป็น ๕ ประเด็น คือ
๑. ทรงริเริ่มการศึกษาพระพุทธศาสนาแนวใหม่
๒. ทรงตั้งหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานแก่คณะสงฆ์
๓. ทรงปรับปรุงการศึกษาขั้นสูงของคณะสงฆ์ให้ได้มาตรฐาน
๔. ทรงพระดำริพัฒนาการศึกษาของภิกษุสามเณรให้กว้าง ขวางทันโลก
๕. ทรงวางรากฐานการศึกษาขั้นประถมของชาติ

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
การศึกษา
พระกรณียะสำคัญประการแรกของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ พระองค์นั้นก็คือ เรื่องการศึกษาเพื่อความกะทัดรัดในการเล่า และเพื่อความเข้าใจง่ายของท่านผู้ฟังจะขอสรุปประเด็นหรือหัวข้อสำคัญในพระกรณียะด้านการศึกษาของพระองค์เป็น ๕ ประเด็น คือ
๑. ทรงริเริ่มการศึกษาพระพุทธศาสนาแนวใหม่
๒. ทรงตั้งหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานแก่คณะสงฆ์
๓. ทรงปรับปรุงการศึกษาขั้นสูงของคณะสงฆ์ให้ได้มาตรฐาน
๔. ทรงพระดำริพัฒนาการศึกษาของภิกษุสามเณรให้กว้าง ขวางทันโลก
๕. ทรงวางรากฐานการศึกษาขั้นประถมของชาติ